ความสัมพันธ์ญาติ: เพอร์รี่และแมคอาเธอร์ ผู้เปลี่ยนญี่ปุ่น
ที่มาของเรื่องคือ จขบ. ได้อ่านหนังสือ 'The Fall of Japan' แล้วเกิดความสงสัยเลยค้นอินเตอร์เน็ตเพิ่มเติม ลิงก์ก็ไปโน่นนี่จนเจอบทความภาษาไทยแปลกๆ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างทหารอเมริกันสองคนที่มีผลกระทบอย่างสูงต่อประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นคือเพอร์รี่และแมคอาเธอร์ เลยทำให้เขียนบทความนี้ออกมา
แมทธิว คัลเบรธ เพอร์รี่ (Matthew Calbraith Perry, 1794-1858) เป็นทหารเรือยศพลเรือจัตวา (Commodore) เกิดที่รัฐโรดไอแลนด์ในครอบครัวทหารเรือ โดยพ่อเป็นนาวาเอก ส่วนพี่ชาย พลเรือจัตวา โอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอร์รี่ (Oliver Hazard Perry, 1785-1819) ที่เป็นผู้บัญชาการรบกับอังกฤษที่ทะเลสาบอิรีเมื่อปี 1813
เพอร์รี่มีผลงานเด่นในการพัฒนาเรือรบที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ มีส่วนบัญชาการรบในสงครามกับเม็กซิโกเมื่อปี 1845 และเป็นผู้นำกองเรือดำเข้าบังคับเปิดประเทศญี่ปุ่นระหว่างปี 1852-1854 ทำให้มีการลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1854 เป็นการยุติการปิดประเทศซึ่งยาวนานกว่าสองร้อยปีของรัฐบาลโชกุนโตกุงาวะ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่นำไปสู่การก่อตั้งจักรวรรดิญี่ปุ่น
อีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับตระกูลเพอร์รี่กับญี่ปุ่น เหลนของโอลิเวอร์ อลิส เพอร์รี่ (Alice Perry, 1883-1959) เคยอาศัยในญี่ปุ่นกับบิดามารดาที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเคโอและจิตรกรอิมเพรสชันนิสต์ เป็นภรรยาของ โจเซฟ คลาร์ก กริว (Joseph Clark Grew, 1880-1965) เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำญี่ปุ่นระหว่างปี 1932-1941 ซึ่งมีบทบาทมากทั้งช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เคยแจ้งเตือนถึงความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเปิดสงคราม และพยายามเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม หลังการโจมตีที่เพิร์ลฮาเบอร์ กริว ภรรยา และนักการทูตอื่นๆ ถูกกักกันในสถานทูตอเมริกันในโตเกียว ได้เห็นการโจมตีโตเกียวของดูลิตเติ้ล ก่อนกลับอเมริกาเมื่อปี 1942 ในการเจรจาแลกเปลี่ยนทูต ระหว่างสงครามทำงานในกระทรวงต่างประเทศและมีส่วนในการเจรจาสงบศึกโดยคงสถานะของจักรพรรดิญี่ปุ่นเพื่อลดแรงต้านในการยอมแพ้
ดักลาส แมคอาเธอร์ (Douglas MacArthur, 1880-1964) เป็นทหารบกยศนายพลห้าดาว (General of the Army) เกิดที่รัฐอาร์คันซอ บิดาคือพลโท อาเธอร์ แมคอาเธอร์ (Arthur MacArthur Jr., 1845-1912) ที่ได้รับเหรียญกล้าหาญขั้นสูงสุดของสหรัฐอเมริกาคือ Medal of Honor จากการรบในสงครามกลางเมือง ร่วมรบในสงครามกับเสปนและฟิลิปปินส์ ทั้งยังได้เป็นผู้สำเร็จราชการ (Governor-General) ของฟิลิปปินส์ด้วย
แมคอาเธอร์มีเกียรติประวัติในหน้าที่และมีชื่อแต่ยังหนุ่ม จบการศึกษาที่เวสปอยต์เป็นอันดับแรกของชั้นปี ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนได้เป็นนายพลจัดวา (Brigadier General) เมื่อมีอายุเพียงสามสิบแปดปี เป็นประธานเสนาธิการทหารบกของสหรัฐและจอมพลของกองทัพบกฟิลิปปินส์ ในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในภาคพื้นแฟซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ผู้บัญชาการกองกำลังยึดครองประเทศญี่ปุ่น และบริหารการปฏิรูปญี่ปุ่นหลังสงครามจนมีฉายาโชกุนต่างด้าว ฯลฯ งานสุดท้ายคือเป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี ก่อนถูกปลดจากตำแหน่งจากความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบาย
แมคอาเธอร์ได้รับเหรียญกล้าหาญ Medal of Honor ในการบัญชาการรบที่ฟิลิปปินส์ในสงครามโลกครั้งที่สอง สร้างประวัติศาสตร์พ่อลูกคู่แรกได้รับเหรียญกล้าหาญสูงสุด แมคอาเธอร์ยังเป็นเจ้าของวาทะ I shall return. (ข้าพเจ้าจะกลับมา) เมื่อถอยจากฟิลิปปินส์ในสงครามโลกครั้งที่สอง และ Old soldiers never die, they just fade away. (ทหารแก่ไม่มีวันตาย แต่จะเลือนหายไป) ในสุนทรพจน์สุดท้ายที่รัฐสภาสหรัฐหลังจากถูกปลดจากการเป็นผู้บัญชาการในเกาหลี
ในฐานะที่แมคอาเธอร์เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังสัมพันธมิตรในแปซิฟิก แมคอาเธอร์เป็นผู้ลงนามคนแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในสัตยาบันยอมจำนน อันเป็นจุดจบของจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 บนเรือประจัญบานมิสซูรี่ซึ่งมีการนำธงชาติอเมริกันที่ชักบนเรือธงของเพอร์รี่ในภารกิจเปิดประเทศญี่ปุ่นมาแสดงบนดาดฟ้าเรือด้วย
ในหนังสือ 'The Fall of Japan' ได้บอกว่ามีการชิงดีชิงเด่นระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือในการจัดพิธีลงนาม เมื่อทหารบกคือแมคอาเธอร์ได้เป็นผู้ลงนาม จึงให้กองทัพเรือเป็นเจ้าภาพสถานที่คือเรือประจัญบานมิสซูรี่อันเป็นเรือธงของพลเรือเอก วิลเลียม ฮัลซีย์ (William Frederick Halsey, 1882-1959 ภายหลังได้เป็นนายพลเรือห้าดาวหรือ Fleet Admiral ที่เทียบเท่ากับยศของแมคอาเธอร์) ในการเลือกเรือประจัญบานมิสซูรี่เป็นสถานที่ลงนามนี้ นอกจากมีสถานะเป็นเรือธง ก็ดูดีทางการเมืองเพราะเรือถูกตั้งชื่อตามรัฐที่ประธานาธิบดีทรูแมนเคยเป็นวุฒิสมาชิก
ก่อนหน้าพิธีห้าวัน ฮัลซีย์ได้สั่งให้พิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนนายเรือที่แอนนาโปลิสส่งธงของเพอร์รี่มาโดยด่วน คนรับคำสั่งคือเรือเอก จอห์น เบรเมอร์ (Lt. John Breymer) ซึ่งเห็นเอกสารแหล่งอื่นบอกว่านามสกุลเบรเมอร์ (Bremyer) ก็เป็นเห็นโอกาสดีเยี่ยมที่จะได้ไปร่วมเหตุการณ์สำคัญ เลยจัดให้การส่งธงเป็นงานเร่งด่วนสูงสุดและนำส่งของด้วยตนเอง
ในสุนทรพจน์ถึงชาวอเมริกันในวันที่ลงนามในสัตยาบันยอมจำนน แมคอาเธอร์ได้กล่าวถึงเพอร์รี่ด้วย "We stand in Tokyo today reminiscent of our countryman, Commodore Perry, ninety-two years ago. His purpose was to bring to Japan an era of enlightenment and progress, by lifting the veil of isolation to the friendship, trade, and commerce of the world."(เรายืนอยู่ที่โตเกียววันนี้ ชวนให้นึกถึงเพื่อนร่วมชาติ พลเรือจัตวาเพอร์รี่ ที่เมื่อเก้าสิบสองปีที่แล้ว มีเป้าหมายนำญี่ปุ่นเข้าสู่สมัยของความเรืองปัญญาและความก้าวหน้า โดยการปิดฉากการโดดเดี่ยว ให้เข้าร่วมมิตรภาพ การค้าขาย และการพาณิชย์ของโลก ...)
ปัญหาที่ จขบ. พบคือบทความภาษาไทยซึ่งถูกอ้างหลายครั้งที่บอกว่า "พลเอกแมกอาร์เธอร์เป็นผู้รับการประกาศยอมแพ้อย่างเป็นทางการของญี่ปุ่น จากที่เขามีเชื้อสายของนาวาเอก(พิเศษ) แมทธิว คราวเรต เพอรี่ ผู้เคยบีบให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศใน พ.ศ. 2397" ที่ความหมายไม่ตรงเพราะแมคอาเธอร์ไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ลงนามด้วยเหตุที่เป็นญาติกับเพอร์รี่แต่ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดของสัมพันธมิตรในการยึดครองญี่ปุ่นก่อนหน้าตัวแทนประเทศต่างๆ ข้อความนี้ยังกำกวมเพราะเหมือนกับว่าเพอร์รี่เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของแมคอาเธอร์
อีกข้อความยังว่า "เรื่องบังเอิญ คือ พลจัตวา แมทธิว ซี เพอร์รี่ เป็นทวดของเจ้าของวลี I shall return คือ นายพลดักลาส แมคอาร์เทอร์ นั่นเองครับ หลานแมคอาร์เทอร์ ก็สามารถนำกองทัพสหรัฐอเมริการบชนะญี่ปุ่นได้เหมือนกันอีก บังเอิญแท้ๆ ^^" ซึ่งก็ผิดเต็มๆ จนมีข้อความที่แย้งว่าไม่ใช่ "มาทำความเข้าใจกันใหม่นะครับว่า คุณปู่ของนายพล ดักลาส แมกอาเธอร์ General:Douglas MacArthur ไม่ใช่ พลเรือจัตวา แมทธิว เพอรี่ Commodore:Matthew Perry อย่างที่ทุกคนเข้าใจกันมาตลอดนะครับ"
จขบ. เคยค้นเรื่องแมคอาเธอร์และเพอร์รี่ในอินเตอร์เน็ตโดยคร่าวๆ ก่อนหน้านี้หลายปี เลยอยากจะเขียนแก้ความเข้าใจผิดหน่อยค่ะ ปกติการค้นอินเตอร์เน็ต ที่หาเจอง่ายแต่เชื่อได้บ้างไม่ได้บ้างคือ wikipedia แต่ก็เป็นจุดเริ่มที่ง่าย ในหัวข้อ 'Matthew C. Perry' บอกว่า "… Douglas MacArthur, who was himself a blood-relative of Perry." คือแมคอาเธอร์เป็นญาติโดยสายโลหิตกับเพอร์รี่ และในหัวข้อ 'Japanese Instrument of Surrender' บอกว่า "MacArthur was a direct descendant of the New England Perry family and cousin of Commodore Matthew Perry." คือแมคอาเธอร์มีเชื้อสายของตระกูลเพอร์รี่และเป็นญาติกับพลเรือจัตวาแมทธิว เพอร์รี่
ตอนนั้น จขบ. ก็เกิดสงสัยว่าความเป็นญาติที่ว่านั่นคืออะไรกันแน่ เลยค้นอินเตอร์เน็ตต่อเพื่อความสนุก แต่กลับพบว่าหาไม่เจอที่มีแผนผังตรงเลย เช่นในหน้าเว็บ famouskin ซึ่งให้ข้อมูลญาติที่มีชื่อของคนที่มีชื่อ เมื่อเช็คของทั้งคู่แล้วก็ไม่เห็น แต่ก็มีคนที่มีชื่อเสียงเป็นญาติร่วมหลายคน (ห่างแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) อย่าง สตีเฟ่น ดักลาส ที่เคยโต้วาทีกับลินคอล์น, โจเซฟ วอร์ตัน ที่ตั้งโรงเรียนธุรกิจ, พี่น้องตระกูลไรท์, ภรรยาของไอเซนฮาวร์, ริชาร์ด เกียร์, มาริลีน มอนโร ฯลฯ โดยแมคอาเธอร์มีญาติไฮโซมากกว่าเยอะ มีบรรพบุรุษเป็นกษัตริย์อังกฤษและฝรั่งเศสด้วย แต่เมื่อลงรายละเอียดต่อก็เหมือนจะไม่มีลิงก์ไหนที่ทำให้ทั้งสองคนมีบรรพบุรุษร่วมกัน
สุดท้ายค้นไปค้นมาก็ได้หน้าของครอบครัวเพอร์รี่ที่ familyhistorypages ที่มีชื่อของทั้งสองคนอยู่ (ภายหลังเว็บหาย) เลยสามารถตั้งโครงคร่าวๆ ได้ แล้วค่อยเติมของเพอร์รี่และแมคอาเธอร์จาก famouskin, geni และ wikitree
ในเว็บพวกนี้พูดได้ว่าโดยทั่วไปข้อมูลบุคคลทั้งชื่อและปีตรงกันมาก แต่ก็มีที่มีแตกต่างเช่นเวลาเกิดหรือตายอาจจะต่างกันสักปี บอกว่าประมาณ หรือเว้นว่างไว้ รวมถึงมีข้อโต้แย้งในบางจุด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเพอร์รี่และแมคอาเธอร์นี้ เมื่อใช้ข้อมูลจาก geni เป็นหลักก็พอสรุปได้ว่ามีสองความเชื่อมโยงตามรูป
ถ้าข้อมูลที่ค้นมาถูกต้อง ดูจากแผนภูมิแล้วจะเห็นว่าทั้งสองคนเป็นญาติตามเส้นสั้นที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า 4th cousin, 5 times removed หรือลูกพี่ลูกน้องขั้นสี่ที่ห่างห้ารุ่น โดยบรรพบุรุษคู่สามีภรรยาที่เป็นผู้เชื่อมโยง คือ เอ็ดมันด์ เพอร์รี่ (Edmund Perry) และ ซาราห์ กิลเล็ตต์ (Sarah Gillett) เกิดในอังกฤษที่เดวอนแล้วพาครอบครัวอพยพไปอาณานิคมอเมริกา
ส่วนเส้นยาวก็ยิ่งห่าง ถอยไปอีกเกือบสองร้อยปีถึง โรเจอร์ กิฟฟาร์ด (Roger Giffard) ที่เป็นเอสไควร์ในบักกิงแฮมเชียร์ (เอสไควร์บ่งชี้ว่าเป็นสุภาพบุรุษที่มีทรัพย์สิน แต่ศักดิ์ต่ำกว่าอัศวิน) จนเป็นญาติแบบ 12th cousin, 4 times removed หรือลูกพี่ลูกน้องขั้นสิบสองที่ห่างสี่รุ่น แถมบรรพบุรุษยังเป็นพี่น้องคนละแม่อีก
แต่ก็มีข้อสงสัยในความเชื่อมโยงทั้งสองเส้น โดยในเส้นสั้น จุดสำคัญที่สุดคือ เอซรา เพอร์รี่ (Ezra Perry) ที่ใน wikitree บอกว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นลูกชายของคู่สามีภรรยา เอ็ดมันด์ เพอร์รี่ ส่วนในเส้นยาว ก็มีความสัมพันธ์บางเส้นที่ขาดไปใน wikitree เช่นกัน แต่อย่างน้อยก็เห็นว่าบรรพบุรุษของแมคอาเธอร์มีคนตระกูลเพอร์รี่
สรุปคือได้ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นไปได้ออกมาแล้วอย่างไม่มั่นใจมากนัก ถ้าทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกัน ก็ห่างกันสุดๆ ล่ะค่ะ และไม่ทราบว่ามีเส้นอื่นหรือเปล่า ถ้าทราบหรือมีปัญหากรุณาบอกด้วยนะคะ
เรื่องที่ไม่ได้เกิด, ความสัมพันธ์ญาติ
แมทธิว คัลเบรธ เพอร์รี่ (Matthew Calbraith Perry, 1794-1858) เป็นทหารเรือยศพลเรือจัตวา (Commodore) เกิดที่รัฐโรดไอแลนด์ในครอบครัวทหารเรือ โดยพ่อเป็นนาวาเอก ส่วนพี่ชาย พลเรือจัตวา โอลิเวอร์ ฮาซาร์ด เพอร์รี่ (Oliver Hazard Perry, 1785-1819) ที่เป็นผู้บัญชาการรบกับอังกฤษที่ทะเลสาบอิรีเมื่อปี 1813
เพอร์รี่มีผลงานเด่นในการพัฒนาเรือรบที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ มีส่วนบัญชาการรบในสงครามกับเม็กซิโกเมื่อปี 1845 และเป็นผู้นำกองเรือดำเข้าบังคับเปิดประเทศญี่ปุ่นระหว่างปี 1852-1854 ทำให้มีการลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 1854 เป็นการยุติการปิดประเทศซึ่งยาวนานกว่าสองร้อยปีของรัฐบาลโชกุนโตกุงาวะ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ที่นำไปสู่การก่อตั้งจักรวรรดิญี่ปุ่น
อีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับตระกูลเพอร์รี่กับญี่ปุ่น เหลนของโอลิเวอร์ อลิส เพอร์รี่ (Alice Perry, 1883-1959) เคยอาศัยในญี่ปุ่นกับบิดามารดาที่เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเคโอและจิตรกรอิมเพรสชันนิสต์ เป็นภรรยาของ โจเซฟ คลาร์ก กริว (Joseph Clark Grew, 1880-1965) เอกอัครราชทูตอเมริกันประจำญี่ปุ่นระหว่างปี 1932-1941 ซึ่งมีบทบาทมากทั้งช่วงก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เคยแจ้งเตือนถึงความเป็นไปได้ที่ญี่ปุ่นจะเปิดสงคราม และพยายามเจรจาเพื่อหลีกเลี่ยงสงคราม หลังการโจมตีที่เพิร์ลฮาเบอร์ กริว ภรรยา และนักการทูตอื่นๆ ถูกกักกันในสถานทูตอเมริกันในโตเกียว ได้เห็นการโจมตีโตเกียวของดูลิตเติ้ล ก่อนกลับอเมริกาเมื่อปี 1942 ในการเจรจาแลกเปลี่ยนทูต ระหว่างสงครามทำงานในกระทรวงต่างประเทศและมีส่วนในการเจรจาสงบศึกโดยคงสถานะของจักรพรรดิญี่ปุ่นเพื่อลดแรงต้านในการยอมแพ้
ดักลาส แมคอาเธอร์ (Douglas MacArthur, 1880-1964) เป็นทหารบกยศนายพลห้าดาว (General of the Army) เกิดที่รัฐอาร์คันซอ บิดาคือพลโท อาเธอร์ แมคอาเธอร์ (Arthur MacArthur Jr., 1845-1912) ที่ได้รับเหรียญกล้าหาญขั้นสูงสุดของสหรัฐอเมริกาคือ Medal of Honor จากการรบในสงครามกลางเมือง ร่วมรบในสงครามกับเสปนและฟิลิปปินส์ ทั้งยังได้เป็นผู้สำเร็จราชการ (Governor-General) ของฟิลิปปินส์ด้วย
แมคอาเธอร์มีเกียรติประวัติในหน้าที่และมีชื่อแต่ยังหนุ่ม จบการศึกษาที่เวสปอยต์เป็นอันดับแรกของชั้นปี ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งจนได้เป็นนายพลจัดวา (Brigadier General) เมื่อมีอายุเพียงสามสิบแปดปี เป็นประธานเสนาธิการทหารบกของสหรัฐและจอมพลของกองทัพบกฟิลิปปินส์ ในสงครามโลกครั้งที่สองเป็นผู้บัญชาการสูงสุดในภาคพื้นแฟซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ผู้บัญชาการกองกำลังยึดครองประเทศญี่ปุ่น และบริหารการปฏิรูปญี่ปุ่นหลังสงครามจนมีฉายาโชกุนต่างด้าว ฯลฯ งานสุดท้ายคือเป็นผู้บัญชาการกองกำลังสหประชาชาติในสงครามเกาหลี ก่อนถูกปลดจากตำแหน่งจากความขัดแย้งเกี่ยวกับนโยบาย
แมคอาเธอร์ได้รับเหรียญกล้าหาญ Medal of Honor ในการบัญชาการรบที่ฟิลิปปินส์ในสงครามโลกครั้งที่สอง สร้างประวัติศาสตร์พ่อลูกคู่แรกได้รับเหรียญกล้าหาญสูงสุด แมคอาเธอร์ยังเป็นเจ้าของวาทะ I shall return. (ข้าพเจ้าจะกลับมา) เมื่อถอยจากฟิลิปปินส์ในสงครามโลกครั้งที่สอง และ Old soldiers never die, they just fade away. (ทหารแก่ไม่มีวันตาย แต่จะเลือนหายไป) ในสุนทรพจน์สุดท้ายที่รัฐสภาสหรัฐหลังจากถูกปลดจากการเป็นผู้บัญชาการในเกาหลี
ในฐานะที่แมคอาเธอร์เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของกองกำลังสัมพันธมิตรในแปซิฟิก แมคอาเธอร์เป็นผู้ลงนามคนแรกของฝ่ายสัมพันธมิตรในสัตยาบันยอมจำนน อันเป็นจุดจบของจักรวรรดิญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 2 กันยายน 1945 บนเรือประจัญบานมิสซูรี่ซึ่งมีการนำธงชาติอเมริกันที่ชักบนเรือธงของเพอร์รี่ในภารกิจเปิดประเทศญี่ปุ่นมาแสดงบนดาดฟ้าเรือด้วย
ในหนังสือ 'The Fall of Japan' ได้บอกว่ามีการชิงดีชิงเด่นระหว่างกองทัพบกและกองทัพเรือในการจัดพิธีลงนาม เมื่อทหารบกคือแมคอาเธอร์ได้เป็นผู้ลงนาม จึงให้กองทัพเรือเป็นเจ้าภาพสถานที่คือเรือประจัญบานมิสซูรี่อันเป็นเรือธงของพลเรือเอก วิลเลียม ฮัลซีย์ (William Frederick Halsey, 1882-1959 ภายหลังได้เป็นนายพลเรือห้าดาวหรือ Fleet Admiral ที่เทียบเท่ากับยศของแมคอาเธอร์) ในการเลือกเรือประจัญบานมิสซูรี่เป็นสถานที่ลงนามนี้ นอกจากมีสถานะเป็นเรือธง ก็ดูดีทางการเมืองเพราะเรือถูกตั้งชื่อตามรัฐที่ประธานาธิบดีทรูแมนเคยเป็นวุฒิสมาชิก
ก่อนหน้าพิธีห้าวัน ฮัลซีย์ได้สั่งให้พิพิธภัณฑ์ของโรงเรียนนายเรือที่แอนนาโปลิสส่งธงของเพอร์รี่มาโดยด่วน คนรับคำสั่งคือเรือเอก จอห์น เบรเมอร์ (Lt. John Breymer) ซึ่งเห็นเอกสารแหล่งอื่นบอกว่านามสกุลเบรเมอร์ (Bremyer) ก็เป็นเห็นโอกาสดีเยี่ยมที่จะได้ไปร่วมเหตุการณ์สำคัญ เลยจัดให้การส่งธงเป็นงานเร่งด่วนสูงสุดและนำส่งของด้วยตนเอง
ในสุนทรพจน์ถึงชาวอเมริกันในวันที่ลงนามในสัตยาบันยอมจำนน แมคอาเธอร์ได้กล่าวถึงเพอร์รี่ด้วย "We stand in Tokyo today reminiscent of our countryman, Commodore Perry, ninety-two years ago. His purpose was to bring to Japan an era of enlightenment and progress, by lifting the veil of isolation to the friendship, trade, and commerce of the world."(เรายืนอยู่ที่โตเกียววันนี้ ชวนให้นึกถึงเพื่อนร่วมชาติ พลเรือจัตวาเพอร์รี่ ที่เมื่อเก้าสิบสองปีที่แล้ว มีเป้าหมายนำญี่ปุ่นเข้าสู่สมัยของความเรืองปัญญาและความก้าวหน้า โดยการปิดฉากการโดดเดี่ยว ให้เข้าร่วมมิตรภาพ การค้าขาย และการพาณิชย์ของโลก ...)
ปัญหาที่ จขบ. พบคือบทความภาษาไทยซึ่งถูกอ้างหลายครั้งที่บอกว่า "พลเอกแมกอาร์เธอร์เป็นผู้รับการประกาศยอมแพ้อย่างเป็นทางการของญี่ปุ่น จากที่เขามีเชื้อสายของนาวาเอก(พิเศษ) แมทธิว คราวเรต เพอรี่ ผู้เคยบีบให้ญี่ปุ่นเปิดประเทศใน พ.ศ. 2397" ที่ความหมายไม่ตรงเพราะแมคอาเธอร์ไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นผู้ลงนามด้วยเหตุที่เป็นญาติกับเพอร์รี่แต่ในฐานะผู้บัญชาการสูงสุดของสัมพันธมิตรในการยึดครองญี่ปุ่นก่อนหน้าตัวแทนประเทศต่างๆ ข้อความนี้ยังกำกวมเพราะเหมือนกับว่าเพอร์รี่เป็นบรรพบุรุษโดยตรงของแมคอาเธอร์
อีกข้อความยังว่า "เรื่องบังเอิญ คือ พลจัตวา แมทธิว ซี เพอร์รี่ เป็นทวดของเจ้าของวลี I shall return คือ นายพลดักลาส แมคอาร์เทอร์ นั่นเองครับ หลานแมคอาร์เทอร์ ก็สามารถนำกองทัพสหรัฐอเมริการบชนะญี่ปุ่นได้เหมือนกันอีก บังเอิญแท้ๆ ^^" ซึ่งก็ผิดเต็มๆ จนมีข้อความที่แย้งว่าไม่ใช่ "มาทำความเข้าใจกันใหม่นะครับว่า คุณปู่ของนายพล ดักลาส แมกอาเธอร์ General:Douglas MacArthur ไม่ใช่ พลเรือจัตวา แมทธิว เพอรี่ Commodore:Matthew Perry อย่างที่ทุกคนเข้าใจกันมาตลอดนะครับ"
จขบ. เคยค้นเรื่องแมคอาเธอร์และเพอร์รี่ในอินเตอร์เน็ตโดยคร่าวๆ ก่อนหน้านี้หลายปี เลยอยากจะเขียนแก้ความเข้าใจผิดหน่อยค่ะ ปกติการค้นอินเตอร์เน็ต ที่หาเจอง่ายแต่เชื่อได้บ้างไม่ได้บ้างคือ wikipedia แต่ก็เป็นจุดเริ่มที่ง่าย ในหัวข้อ 'Matthew C. Perry' บอกว่า "… Douglas MacArthur, who was himself a blood-relative of Perry." คือแมคอาเธอร์เป็นญาติโดยสายโลหิตกับเพอร์รี่ และในหัวข้อ 'Japanese Instrument of Surrender' บอกว่า "MacArthur was a direct descendant of the New England Perry family and cousin of Commodore Matthew Perry." คือแมคอาเธอร์มีเชื้อสายของตระกูลเพอร์รี่และเป็นญาติกับพลเรือจัตวาแมทธิว เพอร์รี่
ตอนนั้น จขบ. ก็เกิดสงสัยว่าความเป็นญาติที่ว่านั่นคืออะไรกันแน่ เลยค้นอินเตอร์เน็ตต่อเพื่อความสนุก แต่กลับพบว่าหาไม่เจอที่มีแผนผังตรงเลย เช่นในหน้าเว็บ famouskin ซึ่งให้ข้อมูลญาติที่มีชื่อของคนที่มีชื่อ เมื่อเช็คของทั้งคู่แล้วก็ไม่เห็น แต่ก็มีคนที่มีชื่อเสียงเป็นญาติร่วมหลายคน (ห่างแค่ไหนเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) อย่าง สตีเฟ่น ดักลาส ที่เคยโต้วาทีกับลินคอล์น, โจเซฟ วอร์ตัน ที่ตั้งโรงเรียนธุรกิจ, พี่น้องตระกูลไรท์, ภรรยาของไอเซนฮาวร์, ริชาร์ด เกียร์, มาริลีน มอนโร ฯลฯ โดยแมคอาเธอร์มีญาติไฮโซมากกว่าเยอะ มีบรรพบุรุษเป็นกษัตริย์อังกฤษและฝรั่งเศสด้วย แต่เมื่อลงรายละเอียดต่อก็เหมือนจะไม่มีลิงก์ไหนที่ทำให้ทั้งสองคนมีบรรพบุรุษร่วมกัน
สุดท้ายค้นไปค้นมาก็ได้หน้าของครอบครัวเพอร์รี่ที่ familyhistorypages ที่มีชื่อของทั้งสองคนอยู่ (ภายหลังเว็บหาย) เลยสามารถตั้งโครงคร่าวๆ ได้ แล้วค่อยเติมของเพอร์รี่และแมคอาเธอร์จาก famouskin, geni และ wikitree
ในเว็บพวกนี้พูดได้ว่าโดยทั่วไปข้อมูลบุคคลทั้งชื่อและปีตรงกันมาก แต่ก็มีที่มีแตกต่างเช่นเวลาเกิดหรือตายอาจจะต่างกันสักปี บอกว่าประมาณ หรือเว้นว่างไว้ รวมถึงมีข้อโต้แย้งในบางจุด สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างเพอร์รี่และแมคอาเธอร์นี้ เมื่อใช้ข้อมูลจาก geni เป็นหลักก็พอสรุปได้ว่ามีสองความเชื่อมโยงตามรูป
ถ้าข้อมูลที่ค้นมาถูกต้อง ดูจากแผนภูมิแล้วจะเห็นว่าทั้งสองคนเป็นญาติตามเส้นสั้นที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า 4th cousin, 5 times removed หรือลูกพี่ลูกน้องขั้นสี่ที่ห่างห้ารุ่น โดยบรรพบุรุษคู่สามีภรรยาที่เป็นผู้เชื่อมโยง คือ เอ็ดมันด์ เพอร์รี่ (Edmund Perry) และ ซาราห์ กิลเล็ตต์ (Sarah Gillett) เกิดในอังกฤษที่เดวอนแล้วพาครอบครัวอพยพไปอาณานิคมอเมริกา
ส่วนเส้นยาวก็ยิ่งห่าง ถอยไปอีกเกือบสองร้อยปีถึง โรเจอร์ กิฟฟาร์ด (Roger Giffard) ที่เป็นเอสไควร์ในบักกิงแฮมเชียร์ (เอสไควร์บ่งชี้ว่าเป็นสุภาพบุรุษที่มีทรัพย์สิน แต่ศักดิ์ต่ำกว่าอัศวิน) จนเป็นญาติแบบ 12th cousin, 4 times removed หรือลูกพี่ลูกน้องขั้นสิบสองที่ห่างสี่รุ่น แถมบรรพบุรุษยังเป็นพี่น้องคนละแม่อีก
แต่ก็มีข้อสงสัยในความเชื่อมโยงทั้งสองเส้น โดยในเส้นสั้น จุดสำคัญที่สุดคือ เอซรา เพอร์รี่ (Ezra Perry) ที่ใน wikitree บอกว่าไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นลูกชายของคู่สามีภรรยา เอ็ดมันด์ เพอร์รี่ ส่วนในเส้นยาว ก็มีความสัมพันธ์บางเส้นที่ขาดไปใน wikitree เช่นกัน แต่อย่างน้อยก็เห็นว่าบรรพบุรุษของแมคอาเธอร์มีคนตระกูลเพอร์รี่
สรุปคือได้ความสัมพันธ์ที่มีความเป็นไปได้ออกมาแล้วอย่างไม่มั่นใจมากนัก ถ้าทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกัน ก็ห่างกันสุดๆ ล่ะค่ะ และไม่ทราบว่ามีเส้นอื่นหรือเปล่า ถ้าทราบหรือมีปัญหากรุณาบอกด้วยนะคะ
[13/10/18, 14/11/21, 05/07/22]
เรื่องที่ไม่ได้เกิด, ความสัมพันธ์ญาติ
Comments
Post a Comment